ทำความเข้าใจ 🌱Branded Blender vs 🌱Artisanal Tea Shop & 🌱Tea Farm เราจะซื้อจากไหนดี

อันนี้ต้องเขียนบอกก่อนว่าเป็นความชอบ และประสบการณ์ส่วนตัวของแอดเอง จริงๆแอดก็ไม่ได้ทานชาญี่ปุ่นมานานเท่าใครหลายคน แต่ก็อยากแชร์มุมมองเผื่อมีเพื่อนชามาแบ่งปันอีกมุมมอง เพื่อศึกษาต่อให้เข้าใจได้มากขึ้นคะ

ยังไงเพจนี้ก็เป็นเพจที่เป็นแหล่งแชร์ประสบการณ์และเรียนรู้ แบ่งปัน ความรักและความชื่นชอบชาด้วยกัน ^^

Branded Blender

เราเริ่มทานชาญี่ปุ่นจากร้านขายชาแบรนด์เก่าแก่ เราไม่รู้จักชื่อที่เรียกในวงการขอ เรียกว่าเป็น Branded Blender แล้วกัน

😍เราเริ่มจากร้านใหญ่เลย ก็พวก Ippodo / Marukyu koyamaen ซึ่งเป็นร้านชาที่นำชาจากไร่ต่างๆ รวมถึงไร่ตัวเอง (น่าจะมี) มาเบลนเป็นสูตรของตัวเองแล้วตั้งชื่อชา ไม่ก็ให้ อิเอโมโตะ (เจ้าสำนักโรงเรียนชงชา) ตั้งให้แล้วตั้งเป็นซีรีส์ Iemoto Okonomi แบบเจ้าสำนักชอบ ลูกศิษย์ก็ต้องใช้ (55) ถือว่าค่อนข้างใหญ่ ใหญ่มากขนาดที่ 🤨ในใจแอดคิดว่ามันซึมเข้าไปอยู่ในความรู้สึกของคนกินชาหลายคนว่า “นี่คือรสมาตรฐาน” แบบติดปากกันไปเลย แอดสารภาพว่าเมื่อแบรนด์พวกนี้กลายเป็นมาตรฐานแอดไปแล้ว ถึงกับต้องปรับทัศนคติใหม่เลย 555

🧐มันไม่ได้แย่นะคะ ชาพวกนี้คุณภาพดีถึงดีมาก เข้าใจง่าย เหมาะกับคนเริ่มต้น และหาทานได้ตลอด เพราะชงง่าย กินอร่อย รสแทบไม่มีเปลี่ยนแปลง แถมเวลาเม้ามอยก็ไปคุยกับชาวบ้านได้ เอารสชาอีกตัวมาเทียบกับตัวจากร้านพวกนี้ มันสื่อสารง่าย

แอดยอมรับในกลยุทธุ์ที่แยบยลจริงๆ

เหมาะสำหรับ

  • ชาตามร้านแบบนี้จะมีมาตรฐาน มีรสที่คงที่
  • ราคาก็อาจจะแพงกว่าร้านเล็กเพราะมีค่าใช้จ่ายเยอะ
  • หาซื้อง่ายหน่อย มีใน Rakuten / Sazen tea / Specialty tea shop ที่นำเข้า
  • เริ่มต้นง่าย ไปจิ้มเอาชามาซัก 1-2 ตัวของแต่ละยี่ห้อ ชอบตัวไหนให้ลองซื้อตัว สูงขึ้น หรือ ต่ำลงมาในยี่ห้อเดิมจนเจอตัวที่พอใจ หากินซ้ำได้เลย

ข้อแตกต่าง

  • ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับชา นอกจากชื่อ รส การชิม ถ้าไปถามเค้าคงตอบไม่ได้เลยแอดว่าชาตัวนึงแต่ละปีใช้พันธุ์ ปริมาณในสัดส่วนไม่เหมือนกันเลยอีกอย่างแอดว่าเป็นสูตรลับของเค้าด้วยแหละ จริงๆถ้าเทพจริงก็น่าจะเบลนเลียนแบบได้นะ แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าร้านพวกนี้เค้ามีจดทะเบียนพันธุ์พิเศษสร้างขึ้นโดยไร่ของตัวเอง เช่น Shichimeien มีพันธุ์ Narino / Okunoyama มาเบลนขายเองเลย ไม่มีใครก๊อปได้
  • ร้านบางร้านไม่ส่งโดยตรงแต่ผ่านตัวแทน (Marukyu, Shichimeien)
  • บางร้านต้องไปซื้อที่ร้านเท่านั้น (Kanbayashi 3 จุดแดง)
  • บางร้านซื้อส่งแค่ในญี่ปุ่นเท่านั้น
  • บางร้านมีสาขาหลายประเทศทั่วโลก (Fukujuen)
  • ร้านทุนหนาหน่อย เน้นแบรนด์ก็มีคาเฟ่ มีโฆษณาบ้างเวลาไปเที่ยว มีเวิคชอป ทัวร์โรงงาน บริการ tea ceremony พนักงานหน้าร้านเยอะ คอยให้ความรู้
  • บางร้าน Tax free (Kanbayashi 3 จุดแดง), ส่วนใหญ่ไม่ฟรี

ตัวอย่างชื่อร้าน

Ippodo , Marukyu Koyamaen , Horii Shichimeien , Kanbayashi Shunsho, Kanbayashi จุดแดง , Horaido, Yamamasa Koyamaen, Gion Tsujiri, Tsujirihei, Nakamura Tokichi, Fukujuen, Itohkyuemon, Shogyokuen, Tsuen

Artisanal Tea Seller

ร้านเล็กที่ดีลกับไร่ชาหลายๆไร่ ร้านพวกนี้จะมีตัวเลือกที่ค่อนข้างหลากหลาย ขอเรียกเป็น Artisanal Tea seller แล้วกัน

ร้านชาเล็กๆส่วนใหญ่ออนไลน์ จะเป็นที่คนไปดีลกับไร่เล็กใหญ่ เพื่อเอาผลผลิตชามาเบลนเอง หรือเอาชาที่คนเบลนมาขายต่อ หรือขายชาที่มาจากไร่โดยตรงเลย คนกลุ่มนี้จะคัดสรร เลือกชาแล้วจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับไร่ story การปลูก พันธุ์ เทคนิค มากกว่า Branded Blender (ซึ่งแทบไม่บอกอะไรเราเลย)

ส่วนใหญ่ที่แอดเอา Single origin / Single estate / Naturally grown หรือชาแปลกๆก็มักจะมาจากร้านแบบนี้ ที่เจอๆก็จะเป็นพวกฝรั่งมาทำ แนว Tea Sommelier เค้าจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับชาเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยที่ใช้ พันธุ์ องศาของไร่ที่หันเข้าหาพระอาทิตย์ (555) ชื่อไร่ เดือนที่เก็บเกี่ยว นวดชาด้วยมือ เก็บชาด้วยเครื่องหรือมือ ใครเป็นคนปลูก ส่งแข่งขันได้ราลวัลไรมา….

พวกนี้ทำ content และเว็บ email marketing เก่งบอกเลย 555

เหมาะสำหรับ

  • คนชอบลองชาแปลกๆ
  • คนชอบลองชาสายพันธุ์เดี่ยว
  • คนชอบชิมชาตามพื้นที่ ฟาร์ม
  • คนชอบเทสชา เทียบชา
  • คนชอบปลูกธรรมชาติ
  • บางตัวก็เป็นตัวที่คุณภาพสูงแบบที่หาจาก Branded blender ไม่ได้
  • มีขายในเว็บ บางที่ก็มีส่งต่างประเทศ

ข้อแตกต่าง

  • รสชาติชาไม่คงที่เพราะไม่ได้เบลน หรือ เบลนได้ไม่เป๊ะเท่า Branded blenderบางปีอาจไม่มีชาตัวนั้น หรือไม่มีอีกเลยชาผลิตในปริมาณน้อย
  • เหมาะสำหรับ คนที่เบื่อรสเดิมๆ อยากหาชาที่น่าสนใจ อยากศึกษากินพอให้รู้ว่าอะไรเป็นแบบไหนไม่ได้อยากหาชาสามัญประจำบ้าน แต่อยากหาชาที่แปลกๆ หรือชาที่สุดโต่งในบางด้าน

ตัวอย่างชื่อร้าน

Thes du japon (มีคาเฟ่ที่โตเกียว), Shizen Tea (มีคาเฟ่ที่โตเกียว เปิดชิมชา), Tea crane (มีคาเฟ่ที่เกียวโต เวิคชอป), Yunomi, Hibiki-an

Tea farmer

ต่อมาเป็นไร่ชาโดยตรงเลย เป็นชาของไร่เบลนโดยคนของไร่หรือจ้างมาเบลนให้ อันนี้ขอเรียกพวก Tea farmers

พวกนี้อยู่ใกล้ชิดต้นชามากที่สุด บางไร่แค่ผลิตชาขายใบสดให้คนเอาไปเบลน บางไร่มีโรงงานทำชาครบ และช่องทางการขายโดยตรง มาร์เกตติ้งก็จะสไตล์ไร่ๆ ชาไม่ค่อยมีชื่อ เพราะส่วนใหญ่ไม่เบลน ไม่ได้จ้างเจ้าสำนักชามาตั้ง Okonomi (55) อารมณ์สุทรีย์ หรือโปรโมทมากนัก Marketing ไม่เก่ง ทำเว็บไม่สวย ติดต่อยาก (ยกเว้นพวกรุ่นลูกหลานมารับต่อ แล้วพูดอังกฤษได้)

ราคาปลีกชานี่พูดยากเพราะญี่ปุ่นเป็นพวกชอบตั้งราคามาตรฐาน ไม่อยากเด่น ตัดราคา (ขายส่งคุยนอกรอบ) เช่น Sencha 100 g คุณภาพโอเคหน่อย 1200-1500 เยน ก็ขายกันราคาช่วงนี้หมด ยกเว้นตัวพิเศษ อย่างทางไร่จะมี Hand-picked ราคาก็จะไปเลย 4 เท่า หรือ Hand-rolled ราคาก็จะวิ่งไป 8-9 เท่า (พวก Branded blender บางที Hand-pick แต่ไม่ชอบบอก เล่าเรื่องไม่เก่ง) พวกนี้ขายความเป็น Direct-to-customer ซึ่งเราได้ทานชาของแหล่งปลูกนั้นๆ

ไร่จะมีตัวที่ไปส่งประกวดกันอยู่ มันก็จะมีไร่ หรือตัว ที่ได้รางวัล คิดว่าต้องแยกกับพวกเบลน เราก็เก็บไว้เป็นตัวเลือกได้

บางตัวจะมีเบลนบ้างแต่เบลนไม่กี่ตัว เค้าจะบอกพันธุ์ที่ใช้ไว้ชัดเจน เราก็ละเมียดได้พวกไร่นี้จะมีพันธุ์แปลกๆที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน แบบ Sayama Kaori, Kyoken, Yumekaori, Okunoyama, Narino, etc.

ได้ชิมแล้วมันมีความแตกต่าง ด้วยรสที่เพียวๆของพันธุ์นั้นทำให้เราเข้าใจว่ามันเป็นแบบนี้นี่เอง แล้วเอามาเทียบกับพันธุ์อื่นๆ เวลาได้ยินตัวที่ผสมพวกนี้ที่เราชอบก็จะได้สอยมาอย่างมั่นใจ 55 (อย่าง Horii Shichimeien เป็น Branded blender + Tea farm แอดถามเจ้าของว่าพันธุ์อะไร แกก็ใจดีตอบให้ ในใบปลิวไม่มีเด้อ แอดท้าเลย ไป Ippodo กับ Marukyu ถ้าพนักงานหน้าร้าน สาขา ตอบได้ แอดส่งชาตัวโปรดให้ไปลองฟรีเลย ห้าม Yabukita, Gokoh, Asahi มาเดี่ยวๆนะ ไม่เชื่อ 55)

พวกไร่เนี่ยก็ไม่ได้ดีทุกตัวนะ บางตัวที่อื่นก็ดีกว่า แล้วแต่ฝีมือ know-how และพื้นที่ของเค้าเลย ลองแล้วค่อยพูดได้หน่อยเรื่องการทำชาแต่ละพื้นที่

เหมาะสำหรับ

  • Single estate ใช้แต่ชาจากพื้นที่เดียวกัน ได้เทียบชาแต่ละพื้นที่คนชอบลองชาแปลกๆ
  • คนชอบลองชาสายพันธุ์เดี่ยวคนชอบเทสชา เทียบชา
  • คนที่อยากจัดตัวได้รางวัล

ข้อแตกต่าง

  • บางตัวต้องไปประมูล ไม่มีขายชาอาจไม่คงที่เพราะไม่เบลน (ถ้าเบลนก็ควรคงที่ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฝีมือเช่นกัน ในนี้แอดว่าไม่มีใครเบลนเก่งเท่า Ippodo, Marukyu แล้ว 55)
  • เน้น B2B ขายส่ง
  • อาจซื้อยากหน่อยชาที่ผลิตจากพื้นที่เดียวบางตัวก็เป็นตัวที่คุณภาพสูงมาก
  • ชาได้รางวัล
  • สนับสนุนชาวไร่โดยตรงไปเที่ยวได้
  • ไปนั่งจิบชาชิลๆที่บ้านเจ้าของ
  • ไปสมัครเป็นอาสาได้ 555

ขอสรุป

คนเริ่มต้น อยากหาชาทานประจำ หาซื้อง่าย = Branded Blender

คนที่ละเมียด บ้าชิม = Artisanal Tea seller, Tea farm

คนที่บ้าชิม ชอบความ Farm-to-Cup หรือหาพันธุ์แปลกๆ สนใจทำธุรกิจ= Tea farm

คนที่อยากชิม แต่ไม่ได้ไปญี่ปุ่น ไม่อยากเสียค่าส่ง หรือ สั่งเยอะ = Admin Chajin

555

ps. ชาชุดที่แอดมีแบ่งขายให้ชิม

Yantan set เป็นชาจาก Tea farm ล้วนๆ
Horaido set เป็น ชาจาก Branded blender จ้า

หวังว่าข้อมูลจะมีประโยชน์ ผิดถูกประการได้ท้วงได้เลย หรือมาเม้ามอยสอบถามได้เสมอค่า

เวิร์กช็อปที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่สนใจชาญี่ปุ่นและมัทฉะ

เรามีจัดชิมชาญี่ปุ่น 7 ตัว และแนะนำวิธีการชง สำหรับผู้เริ่มต้น

Hajime no Chajin
「初めの茶人」

เข้าใจรสชาติที่แตกต่างของมัตฉะที่ขายอยู่ในตลาด

Essential Matcha

Contact for the latest updates

There are more special workshops about Japanese tea and matcha. Feel free contact us.

เพิ่มเพื่อน
Leave a Reply

Leave a Reply