Gyokuro เกียวคุโระ 玉露 & Kabusecha คาบูเสะฉะ かぶせ茶

The King of Japanese tea ชื่อเค้าว่าเป็น Jade dew แต่แอดชอบเรียกสนุกๆแปลไทยว่า ยอดน้ำค้างหยก ชาตัวนี้ไม่ไฮโซคงไม่รู้จัก คนญี่ปุ่นทั่วไปหลายคนยังไม่เคยได้ยินชื่อเลย แต่พวกเราหนอนชาเขียวแห่งไทยแลนด์ ผู้ชอบยอดอ่อนใบชา รสอูมามิละมุน สายอายิโนะโมโต๊ะ ธรรมชาติ มีเหรอจะพลาด

ชา Gyokuro ถือว่าเป็น ยอดดอยของบรรดาชาใบจากญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ราคาเฉลี่ยสูง พวก Top tier นี่ราคาประมาน 200,000-300,000 บาท ต่อกิโลได้เลยทีเดียว คะ

ชาตัวนี้เพิ่งมีมาไม่นานคะ ประมานราวๆ ปี 1835 ~ หลังจากที่ Sencha กำเนิดขึ่้น มีการ standardize กรรมวิธีผลิตชาใบและนวดชา โดย Soen.

สิ่งที่ทำให้เจ้า Gyokuro นี่แพง คือความละเมียดพิถีพิถันในการดูแลต้นชาคะ ต้นชาเป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกว่าเหมาะสมแก่การผลิตเอย และยังต้องมีการพรางแสงกว่า 20 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว steam และนวด ส่วนใหญ่เกรดดีๆก็พรางราวๆ 40 วันได้คะ และพรางแสงโดยใช้วัสดุธรรมชาติ แบบไม่คลุมทับต้นชา เกรดไม่แพงมากจะใช้ แสลน คลุมทับเลย และ treatment ต่างๆนานา ของแต่ละไร่

เอาเป็นว่าชาตัวนี้ส่วนใหญ่แนะนำให้ลองเป็นประสบการณ์เปิดกะโหลกคะ
ทานไม่บ่อยนักเพราะมันแพงอันดับแรก อันดับสองคือพิธีรีตองค่อนข้างเยอะ และดื่มไม่ได้ปริมาณมากซักเท่าไหร่ มันไม่ค่อยจะดับกระหาย เผลอๆมันอาจจะทำให้กระหายหนักกว่าเดิม ด้วยรสที่อัดแน่น และการชงที่หลากหลาย ถ้าดับกระหายเราแนะนำพวก Sencha / Houjicha ดีกว่า

แน่นอนว่า Gyokuro ก็มีหลายเกรดคะ ตัวเริ่มต้นทานสบายๆ ละมุนเบาๆ หอมๆ หวานๆ น้ำปกติแบบชงเซ็นฉะ ตัวเกรดท๊อปๆก็แนะนำชงให้มันข้นไปเลย น้ำน้อยๆ ดึงเอารสสุดจัดของเค้าออกมา ลิ้มลอง เปิดกะโหลกให้ถึงบางอ้อ ว่าอูมามิชาเขียวเป็นอย่างไร

การชงน้ำเยอะ น้ำน้อยแล้วแต่คนชงว่าอยากให้รสสัมผัสออกมาแบบไหน ก็สลับเปลี่ยน อุณหภูมิ และเวลาแช่ชา Steeping time
——–

รูปแบบการชงที่ถูกใจเรามากๆเลยคือ Mizudashi style

คือ ชงน้ำเย็น คะ บางคนก็ชอบเอาน้ำแข็งรอห้มันละลาย แต่เราจะโกงมันโดยการเทน้ำเย็นไปช่วย จะได้ลดระยะเวลารอ ใส่น้ำพอปริ่ม ทิ้งไว้

มันจะเย็นสดชื่น รสวูบวาบ พุ่งพล่าน อูมามิเต็มลิ้น หวานเต็มปาก หายใจยังได้อโรม่า ทานน้ำก็หวาน ถึงใจ เลยทีเดียว (เกรดสูงนะคะ) บ้างก็เหมือนซุปดาชิ ตามแต่ละพื้นที่ แต่ละสไตล์
ส่วนเกรดกลางและเกรดเริ่มต้นจะมีกลิ่นออกหญ้าสดจางๆ อูมามิละมุนๆหอมปากหอมคอ ฝาดท้ายเล็กน้อย แทบจะไม่ขม

แต่ละตัวก็จะมีเสน่ห์ของเค้าคะ หน้าที่ของเราคือลองชง ศึกษาเค้าว่าชงแบบไหนออกมาแล้วชอบมากกว่า ในแบบที่เค้าเป็น บ้างก็เกินลิมิต เราหาทางและ work ต่อไป มันก็สนุกไปอีกแบบนะคะ
—-

จะชงร้อน ที่ 40-60 องศาก็ได้ รสชาติไปอีกแบบ

cold brewed gyokuro เป็นขวดได้ไหม… ได้คะ เราว่าถ้าคุณมีงบหนามากก็ลองได้เลย หรือลดน้ำลงกว่าปกติ เพื่อให้รสชัดขึ้นก็ได้ เรารู้สึกว่าชาที่มีการพรางแสง เวลา cold brewed แล้วรสจะไม่ชัดเท่าที่ควร แต่การที่จะแช่ให้นานขึ้นมันจะทำให้ติดรสไม่พึงประสงค์ได้

เหลือวิธีสุดท้ายคือการอัพชา 2 เท่าคะ xD
แต่อย่าเดินเส้นทางนี้เลย 555 cold brewed Futsumushi sencha ไม่ก็ Shaded sencha เถอะเพื่อนชาที่รัก เราเตือนคุณแล้ว

แนะนำแหล่งเกียวๆสุดอร่อย:

เกรดท๊อป Uji Kyoto , Yame Fukuoka
เกรดกลาง Uji Kyoto, Shizuoka

KABUSECHA คาบูเสะฉะ かぶせ茶


Kabusecha เป็น ลูกคนกลาง ระหว่าง Gyokuro – Sencha เป็นชาที่มีการพรางแสงไม่นานมาก 7-12 วันแล้วแต่ไร่ ทำให้มีความนวล อูมามิสูงกว่า Sencha ขมฝาดน้อยกว่ามากพอสมควรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ปลุก และกรรมวิธีลับต่างๆ แต่ระดับอูมามิจะไม่เท่า Gyokuro ทั้งนี้การแยกแยะชนิดของตัวนี้ มีรายละเอียดเรื่อง วิธีและจำนวนวันที่พรางแสงอีกซึ่งมันน่า งง มากเลย ขอเว้นเรื่อง Identification ณ จุดนี้ ใครทราบโปรดชี้แนะ
เอาเป็นชาตัวนี้มักจะเป็นชาทางเลือกของคนที่ชื่นชอบ Gyokuro และความอูมามินวลๆ รสสัมผัสแน่นๆ แต่ว่าอยากเลือกทานตัวที่รสสัมผัสเทียบเท่า หรือเลือกทานสบายๆได้ ในราคาสบายกระเป๋า หรือเผอิญหลงเสน่ห์ลูกครึ่งของเค้า ชาตัวนี้ยังไม่ค่อยเป็นตัวเลือกชาของคนส่วนใหญ่นักเท่าไหร่
ทั้งนี้รสชาติของแต่ละแบรนด์ พื้นที่ก็ให้สไตล์ไม่เหมือนกันคะ ซื้อชาตัวนี้มันคาดเดายากอยู่ว่าจะมาแนวไหน เช่น อูจิจะลอยๆละมุนๆไร้ขมฝาด ยาเมะจะมีแน่นมีความขมท้าย etc ตามที่ลองมานะคะ
——

แนะนำชงเย็น ปริมาณน้อยในกา หรือชงร้อนก็ดีค่า
Cold brewed ความเห็นส่วนตัว เป็นขวดทำให้รสชาจางและไม่ค่อยถึงเต็มที่เท่าไหร่ ถ้าชอบเย็นๆให้ชงน้ำน้อย แบบใส่น้ำแข็งเทน้ำลงไปในกาดีกว่า
น้ำสีเขียว มรกต ใส
แนะนำแหล่ง Kabusecha อร่อยๆ.
Uji Kyoto, Mie, Fukuoka
ขอบคุณภาพ
sazentea , thes du japon

How to brew GYOKURO

How to brew gyokuro by Thes du japon

เวิร์กช็อปที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่สนใจชาญี่ปุ่นและมัทฉะ

เรามีจัดชิมชาญี่ปุ่น 7 ตัว และแนะนำวิธีการชง สำหรับผู้เริ่มต้น

Hajime no Chajin
「初めの茶人」

เข้าใจรสชาติที่แตกต่างของมัตฉะที่ขายอยู่ในตลาด

Essential Matcha

Contact for the latest updates

There are more special workshops about Japanese tea and matcha. Feel free contact us.

เพิ่มเพื่อน

One thought on “Gyokuro เกียวคุโระ 玉露 & Kabusecha คาบูเสะฉะ かぶせ茶

Leave a Reply

Leave a Reply