วิธีการคลุมต้นชาเพื่อรสชาติอันหอม อูมามิ แบบดั้งเดิมและสมัยใหม่✨

ใช้กับเกรดชาไหนบ้าง การผลิตชาเขียวที่เคยเล่าไว้เรื่องการคลุมชาเริ่มจากชาวไร่อูจิหัวใสก๊อปปี้การปลูกชาโดยการคลุมชา บังแดดเลียนแบบธรรมชาติที่เขาทากาโนะโอ ที่เค้าว่าเป็นแหล่งผลิตชาที่ดีที่สุด การคลุมชานั้นไม่ได้ใช้กับชาญี่ปุ่นทุกชนิดนะคะ ใช้กับบางชนิดเท่านั้น โดยเฉพาะกลุ่มที่เน้นอูมามิ เช่น Kabusecha, Gyokuro, Tencha (ที่โม่ใบมาเป็น Matcha), Sencha บางตัว (Sencha ที่ไม่คลุม ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ นั้นเค้าจำแนกว่าเป็น Road-side Sencha)เพราะว่าการคลุมบังแดดนั้น เป็นการกดดันต้นไม้ให้พยายามสังเคราะห์แสงมากขึ้น ยับยั้งการเเปร Amino acid เป็น Catechin โดยการตัดแสงอาทิตย์นี้ทำให้ใบชาแบนลง ใบนุ่มลง และสีเข้มขึ้น เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอใบชาจำเป็นต้องพยายามแบบออกให้มากที่สุดเพื่อรับแสงที่น้อยนิด เมื่อใบพยายามกางออกให้มากใบชาก็จะบางลง แม้ใบจะขยายใหญ่ขึ้นแค่ไหนมันก็จะไม่หยาบกระด้าง ลักษณะใบแบบนี้เป็นที่ต้องตาผู้ผลิต Matcha และ Gyokuro อย่างมาก ใบต้องสีเข้ม นุ่ม ไม่แข็งกระด้าง ถึงจะดี จะบอกว่าการคลุมต้นชาทั้งหลายที่ใช้อยู่ทุกวันนี้มาจากการคลุมโดยใช้ฟางในสมัยก่อน แต่ว่ายุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว การบริโภคมากขึ้น ถ้าไร่ยังใช้ฟางอยู่คงจะผลิตไม่ทันเป็นแน่ แถมค่าแรงสูงอีก ดังนั้นการผลิตในภาคอุตสาหกรรมชาญี่ปุ่นจึงมีวิธีใหม่หลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการตลาด (จุดนี้เห็นชัดเลยว่า จ่ายเท่าไหร่… ได้เท่านั้น) Straw Canopy (Honzu […]

TEA review: Cold brewed Kabusecha Takamado 高円- Marukyu Koyamaen

Cold brewed Kabusecha – かぶせ茶 ความอูมามิสดๆ นี้ดีงามอย่างที่ควรเป็น~ รสบางเบากลิ่นคล้ายเกียวคุโระแต่ไม่เท่า มีความหวานเขียวๆความรู้สึกเหมือนเวลากินใบเกียวคุโระ จะแฉะจืดหน่อยแต่ความเชียวสดนั้นรู้สึกได้ชัดเจน after taste เบาน้อยอ่อนๆ refreshing เซิฟๆ บางละมุนเหมือนหญิงสาวววว (ที่ไม่ใช่แอด ) ทานเบาๆผ่านๆได้ แต่ยังไม่ประทับใจเท่า Sencha ที่มีรสซับซ้อนกว่า ส่วนตัวชอบความเจ้มจ้น รสที่ให้ความออกจะขมแต่ไม่ขม แล้วทิ้ง after taste หวาน ดอกไม้ คือดีย์ (อาจจะเพราะส่วนตัวไม่ค่อยว๊าวกับคาบุเสะฉะเท่าไหร่นัก แล้วแต่ความชอบเลยคะ) ปล. คาบุเสะฉะนี่มีการคลุมแสง shading เหมือนเกียวๆแต่ระยะสั้นกว่า น่าจะคลุมประมาน 10 วันได้ จึงทำให้มี element ของเกียวด้วย ก็คือไม่ฝาดไม่ขม เขียวๆ สดๆ จบรายงานคะ —ชา Kabusecha Takamado (高円)ร้าน Marukyukoyamaen (丸久小山園)ลงน้ำแข็ง และน้ำเย็น แช่ตู้เย็น 24 […]

TEA review: Gyokuro tori 鳳- Horii shichimeien 堀井七名園

กลมกล่อม elegant ไม่อูมามิจัดจี๊ด ชง 60 องศา (ต่ำกว่านั้นแทบไม่มีรส) ไม่เหมือนบางตัวที่ชง 40 องศา 2 นาทีแล้วน้ำจัดจ้านมาก ตัวนี้คือสำหรับคนที่ไม่ชอบความจัดจ้าน แบบชอบน้ำสองของตัวรสจัดแอดเป็นคนชอบกินแบบจัด… มาตัวนี้คือไปไม่ถูกเท่าไหร่ เลยลอง ชา 1:3 น้ำ 60 องศา 1 นาที ออกมานวลๆ (cold brew ไม่เวิคแน่นอน) ลองชง 90 วิ ก็ไม่เสียหาย รสเข้มกว่าหน่อย ความขมไม่มี ไม่ฝาดเลย น้ำขังในกาก็ไม่ขม มันมีความกลมๆ เขียวใบซุปผักๆ aftertaste นวลอ่อนช้อย เหมาะกับ tea time วันชิลๆ หรือไม่ก็ relax ในวันที่หนักๆ ไม่ควรทานพร้อมของหวานนะคะน้ำสองใจร้ายไปนิด 75 องศา รสออก แต่ไม่มีขมเลยแม้แต่น้อยยย กินใบก็แทบไม่ขม สบายเบาบางชิลมาก ถ้าดรอปกว่านี้คิดว่าเป็นคาบุเสะแล้วคะ แต่ดีกว่าคาบุเสะแบบบอกไม่ถูก […]